วัดดาวดึงษาราม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1
วัดดาวดึงษาราม เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่น่าไปเยี่ยมชม เป็นวัดใหญ่ที่
สร้างมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีพระอุโบสถที่ใหญ่โต มีภาพจิตรกรรม
ฝาผนังที่สวยงาม เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณร
(สำนักเรียนตัวอย่างของกระทรวงศึกษาธิการ) และอยู่ไม่ไกล
วัดดาวดึงษาราม ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี
นี่เอง (หากไปจากฝั่งพระนคร จะอยู่ด้านขวามือ ขณะอยู่บนสะพานสมเด็จ
พระปิ่นเกล้า มองไปทางด้านหน้าเฉียงไปทางขวามือ จะมองเห็นหลังคา
พระอุโบสถได้แต่ไกล เด่นเป็นสง่า) อยู่เชิงสะพานด้านขวา มีป้ายวัดบอก
ชัดเจน เข้าไปในซอยไม่ไกลมากนัก ก็จะถึงวัด หาไม่ยาก สามารถนำ
รถยนต์ไปได้ถึงวัด และมีที่จอดรถสะดวกสบาย
มีถาวรวัตถุและสิ่งสำคัญภายในวัดมากมาย ทั้งพระอุโบสถ ซึ่ง
ภายในมี พระประธานในพระอุโบสถ และภาพจิตรกรรมฝาผนังที่น่าชม
และหอระฆัง
และวัดนี้เองที่ท่านมุ้ย เป็นองค์ผู้สร้าง "สรพงษ์ ชาตรี" จากศิษย์วัด
ดาวดึงษาราม จากที่ไม่มีอะไรเลย มาเป็นนักแสดงภาพยนตร์ผู้มีความสามารถ
โด่งดัง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศและได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง
โปรดชมจากเว็บไซต์วัดดาวดึงษาราม
http://www.watdao.com/
ในที่นี้ จะกล่าวเน้นเฉพาะประวัติวัดโดยสังเขป และที่เกี่ยวกับ
เจ้าจอมแว่น พระสนมเอกผู้โด่งดัง ในรัชกาลที่ ๑ ดังนี้
>> ประวัติวัดดาวดึงษารามเมื่อแรกสร้างวัด ในสมัยรัชกาลที่ ๑
เจ้าจอมหรือเจ้าจอมมารดาแว่น หรือแหว่น ซึ่งเรียกกันว่าคุณเสือ *
เป็นหม่อมมาตั้งแต่เมื่อพระพุทธยอดฟ้ายังเป็นเจ้าคุณเห็นจะได้ เมื่อเสด็จไป
ทัพ มีเรื่องเล่ากันถึงเจ้าจอมคนโปรดนี้มาก ...
เมื่อพระพุทธยอดฟ้าเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว คนในวังและ
เห็นจะเป็นคนทั่วไปด้วย เรียกเจ้าจอมมารดาแว่นว่า "คุณเสือ" เห็นจะเป็นด้วย
ท่านดุแหว ดอกกระมัง ...
... ที่น่าเห็นว่าเป็นคนดี ก็เพราะท่านจงรักต่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
เป็นที่สุด เป็นผู้ปฏิบัติในเวลาทรงพระชราอยู่จนสิ้นรัชกาล เมื่อทรงสร้างพระ
โกษทองใหญ่ไว้สำหรับพระองค์นั้น ครั้งสร้างเสร็จแล้ว ก็โปรดให้ยกเข้าไปตั้ง
ไว้ถวายทอดพระเนตรในพระที่นั่งไพศาลฯ ทอดพระเนตรแล้วก็มิได้ตรัสให้
ยกไปเก็บเข้าคลัง ให้ตั้งไว้บนพระที่นั่งหลายวัน
คุณเสือไม่สบายใจเห็นเป็นลาง ก็ทูลวิงวอนว่า เป็นอัปมงคลให้
ยกไปเสีย ตรัสตอบว่า กูทำสำหรับใส่ตัวกูเองจะเป็นอัปมงคลทำไม แต่ก็
โปรดให้ยกพระโกษไป คุณเสือเป็นคนได้รับพระราชทานอภัย ทูลอะไรทูลได้
จึงมีเรื่องเล่าต่อไป
วันหนึ่งพระพุทธยอดฟ้าทรงแสดงพระอาการว่า สบายพระราชหฤทัย
ตรัสและทรงพระสรวลอย่างสนุกสนาน คุณเสือเห็นเป็นโอกาสดี ก็เข้าไปใกล้
พระองค์ทูลว่า "ขุนหลวงเจ้าขา ดีฉันจะทูลความสักเรื่องหนึ่ง แต่ขุนหลวง
อย่ากริ้วหนา"
ตรัสตอบว่า "จะพูดอะไรก็พูดไปเถิด ไม่กริ้วดอก"
คุณเสือทูลว่า "ถ้ายังงั้น ขุนหลวงสบถให้ดีฉันเสียก่อน ดีฉันจึงจะ
ทูล"
ตรัสว่า "อีอัปรีย์ บ้านเมืองลาวของมึง เคยให้เจ้าชีวิตจิตสันดาน
สบถหรือ กูไม่สบถ พูดไปเถิด กูไม่โกรธดอก"
คุณเสือกระเถิบเข้าไปกระซิบทูลว่า "เดี๋ยวนี้ แม่รอดท้องได้ ๔
เดือน"
ทรงอึ้งไปครู่หนึ่งแล้วตรัสว่า "ท้องกับใคร"
คุณเสือทูลว่า "จะมีกะใครเสียอีกเล่า ก็พ่อโฉมเอกของขุนหลวง
น่ะซี"
พระพุทธยอดฟ้ากริ้วนิ่ง ๆ อยู่หลายวัน ไม่มีใครทราบว่าจะอย่างไร
กันแน่ พากันเกรงพระราชอาญาแทนเจ้าฟ้าสองพระองค์ไปตามกัน คุณเสือ
ร้อนใจ จึงหาโอกาสเข้าไปทูลถามว่า ทารกในพระครรภ์จะเป็นเจ้าฟ้าหรือ
ไม่ ตรัสตอบว่า เจ้าฟ้า ก็โล่งใจไปตามกัน ในที่สุดกรมพระราชวังบวรมหา
สุรสิงหนาท เข้าไปขอพระพระราชทานโทษแทนพระหลานทั้งสองพระองค์
(เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นั้น คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า
กรมหลวงอิศรสุนทร ภายหลังได้เสด็จเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้าฯ รัชกาลที่ ๒ กับเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาของเจ้าฟ้ากรมพระ
ศรีสุดารัตน์ ซึ่งในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรี
สุริเยนทราบรมราชินี)
ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกริ้วนิ่ง ๆ อยู่เป็นเวลาหลาย
วัน เจ้าจอมแว่น หรือ "คุณแว่น" พระสนมเอกคนโปรดที่ใคร ๆ ชอบเรียกกันว่า
"คุณเสือ" ร้อนใจเป็นที่สุด เพราะรักใคร่เจ้าฟ้าทั้งสององค์นี้มากเป็นพิเศษ
ถึงกับได้บนบานว่า หากเรื่องคลี่คลายไปในทางที่ดีแล้ว จะสร้างวัดถวายไว้
ในพระพุทธศาสนาหนึ่งวัด
และในที่สุด คุณเสือก็ได้สร้างวัดขึ้นกลางสวนในตำบลบางยี่ขัน
ธนบุรี วัดหนึ่ง เพื่อแก้บน
พระอุโบสถ ก่อเป็นอิฐสูงพ้นดินประมาณ ๒ ศอก เอาเสาไม้แก่น
เป็นเสาประธาน หลังคามุงกระเบื้อง ฝาผนังเอาไม้สักเป็นฝารอบ มีบาน
ประตูหน้าต่าง แต่กุฎีนั้น ทำด้วยเสาไม้แก่น มีหลังคามุงบัง สัณฐานเช่น
เรือนโบราณ
ชาวบ้านเรียกว่า "วัดขรัวอิน" ตามชื่อสมภารชื่อ "อิน"
ที่มา : หนังสือประวัติวัดดาวดึงษาราม
* หมายเหตุ :
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช บันทึกไว้ในหนังสือ "โครงกระดูก
ในตู้" ว่า เจ้าจอมแว่น หรือ คุณเสือ เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมีหน้าที่
อภิบาลพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์อย่างเข้มงวด จนได้รับฉายาว่า
"คุณเสือ" ท่านเป็นชาวเวียงจันทน์ ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลก มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๒ ขณะยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหา
กษัตริย์ศึก เมื่อครั้งทรงเป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑ และ
กวาดต้อนชาวลาวพร้อมทั้งทรัพย์สมบัติ กลับมายังกรุงธนบุรี
เมื่อเจ้าจอมแว่นมาอยู่ในทำเนียบสมเด็จเจ้าพระยาฯ แล้ว
ท่านผู้หญิง (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ก็หึงหวงมาก มีปากเสียงกับ
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้วยเรื่องคุณแว่นนี้อยู่บ่อย ๆ จนคืนวันหนึ่ง ท่านผู้หญิงถือ
ดุ้นแสมไปยืนดักคอยอยู่ในที่มืด บนนอกชานเรือน พอคุณแว่นเดินออกมาจาก
เรือนหลังใหญ่ อันเป็นที่อยุ่ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านผู้หญิงก็เอาดุ้นแสม
ตีหัว คุณแว่นก็ร้องขึ้นว่า "เจ้าคุณขา คุณหญิงตีหัวดิฉัน"
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็โกรธยิ่งนัก ฉวยได้ดาบออกจากเรือนจะมาฟัน
ท่านผู้หญิง ฝ่ายท่านผู้หญิงก็วิ่งเข้าเรือนที่ท่านอยู่ แล้วปิดประตูลั่นดาลไว้
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็เอาดาบฟันประตูโครม ๆ
เจ้าจอมแว่นรับราชการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
อย่างใกล้ชิด แต่มิได้ให้ประสูติพระราชบุตร นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ถวาย
การอภิบาลพระ เจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี อย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
มีเชื้อสายเป็นชาวเวียงจันทน์เหมือนกัน รวมทั้งยังเป็นผู้ถวายการอภิบาล
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่
เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี อีก ๓ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าอาภรณ์ สมเด็จเจ้าฟ้า
กลาง (สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์)
และสมเด็จเจ้าฟ้าปิ๋ว
เจ้าจอมแว่นเป็นผู้มีฝีมือในการปรุงอาหารและเป็นผู้คิดประดิษฐ์
ขนมไข่เหี้ย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีพระราช
ประสงค์จะเสวยไข่เหี้ย กับมังคุด แต่หาไม่ได้ เจ้าจอมแว่นจึงได้คิดประดิษฐ์
ขนมชนิดนี้ขึ้นมาถวายแทน
เจ้าจอมแว่น ถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้านภาลัย
ที่มา : วิกิพีเดีย
>> ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๒ และได้รับพระราชทานนามใหม่
"วัดดาวดึงษาสวรรค์"
ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๒ เมื่อคุณแว่นถึงแก่กรรมแล้ว ได้มีญาติ
หญิงของคุณแว่นคนหนึ่ง เป็นข้าราชการฝ่ายในชื่อ "อิน" ได้มีจิตศรัทธา
จัดการปฏิสังขรณ์วัดขรัวอินเสียใหม่ทั้งวัด
การปฏิสังขรณ์คราวนี้ได้รื้อเอาสถานที่ของเก่าออกทิ้งทั้งหมดแล้ว
สร้างใหม่ ได้สร้างอุโบสถขนาดเล็กก่ออิฐปูนขึ้นใหม่ เสนาสนะก่อด้วยอิฐปูน
แต่เครื่องบนใช้ไม้ไผ่สานเป็นแกน
เสร็จแล้วได้กราบถวายบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จึงทรงดำริว่า วัดขรัวอินนี้แปลก สมภาร
เจ้าวัดชื่อ "อิน" ผู้ศรัทธาปฏิสังขรณ์ก็ชื่อ "อิน" ไม่แต่เท่านั้น ชาวบ้านก็
อุตส่าห์ให้เรียกว่า "วัดขรัวอิน" เสียอีก จึงได้พระราชทานนามให้วัดนี้ใหม่ว่า
"วัดดาวดึงษาสวรรค์" อันหมายถึง สวรรค์ชั้นที่พระอินทร์สถิตย์อยู่
>> ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ และได้รับพระราชทานนามใหม่
"วัดดาวดึงษาราม"
พระยามหาเทพ (ปาน) ซึ่งเป็นต้นตระกูล "ปาณิกบุตร" ตั้ง
บ้านเรือนอยู่ใกล้วัดดาวดึงษาสวรรค์ เป็นผู้มีศรัทธา ได้รื้อกุฎีเหล่านั้นเสีย
ทั้งหมด แล้วสร้างใหม่ แล้วรื้อพระอุโบสถเก่าที่เจ้าอินสร้างไว้นั้นออก
แล้วสร้างใหม่เช่นกัน ด้านในพระอุโบสถถือปูน และเขียนเป็นรูปภาพต่าง ๆ
มีพระรูปพระเจ้า ๑๐ ชาติ เป็นต้น
แล้วจึงให้ขุดคลองระหว่างอุโบสถกับกุฎีต่อกัน ปากคลองทิศ
ตะวันออกเฉียงใต้จดแม่น้ำเจ้าพระยา ตะวันตกเฉียงเหนือจดคลองบางยี่ขัน
แล้วให้ขุดสระอีก ๒ สระข้างกุฎีด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสระกลม กว้าง
๖ ศอก แล้วขุดสระด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ๔ เหลี่ยม อีก ๑ สระ **
ครั้นพระยามหาเทพ (ปาน) สร้างพระอารามสำเร็จลงในรัชกาลที่ ๓
จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง รัชกาลที่ ๓ จึงได้พระราชทานนาม
ใหม่ ว่า "วัดดาวดึงษาราม"
** หมายเหตุ :
คลองที่ขุดจากวัดไปถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อ "คลองวัดดาวดึงษ์"
(คลองวัดดาวดึงษ์ แต่เดิมกว้างใหญ่ ร่มรื่น เรือขนาดใหญ่แล่นสวนกันได้
สะดวก - ผู้เขียน)
>> ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๙ โดยคุญหญิงกลาโหมราชเสนา
บริจาคปัจจัยถวายวัด
หลังจากปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แล้ว ในรัชกาลต่อ ๆ มา
ก็ได้ปฏิสังขรณ์อีกเรื่อยมา แต่ไม่ได้ซ่อมแซมใหญ่โตแต่ประการใด จนถึง
รัชกาลที่ ๙ พระอุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอย่างมาก ดังปรากฏ
ในภาพถ่าย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ (เกือบ ๕๐ ปีมาแล้ว) ที่ผู้เขียนได้เคย
ถ่ายภาพไว้ รวม ๒ ภาพ ด้วยกัน ด้านล่างนี้
สร้างมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีพระอุโบสถที่ใหญ่โต มีภาพจิตรกรรม
ฝาผนังที่สวยงาม เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณร
(สำนักเรียนตัวอย่างของกระทรวงศึกษาธิการ) และอยู่ไม่ไกล
วัดดาวดึงษาราม ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี
นี่เอง (หากไปจากฝั่งพระนคร จะอยู่ด้านขวามือ ขณะอยู่บนสะพานสมเด็จ
พระปิ่นเกล้า มองไปทางด้านหน้าเฉียงไปทางขวามือ จะมองเห็นหลังคา
พระอุโบสถได้แต่ไกล เด่นเป็นสง่า) อยู่เชิงสะพานด้านขวา มีป้ายวัดบอก
ชัดเจน เข้าไปในซอยไม่ไกลมากนัก ก็จะถึงวัด หาไม่ยาก สามารถนำ
รถยนต์ไปได้ถึงวัด และมีที่จอดรถสะดวกสบาย
มีถาวรวัตถุและสิ่งสำคัญภายในวัดมากมาย ทั้งพระอุโบสถ ซึ่ง
ภายในมี พระประธานในพระอุโบสถ และภาพจิตรกรรมฝาผนังที่น่าชม
และหอระฆัง
และวัดนี้เองที่ท่านมุ้ย เป็นองค์ผู้สร้าง "สรพงษ์ ชาตรี" จากศิษย์วัด
ดาวดึงษาราม จากที่ไม่มีอะไรเลย มาเป็นนักแสดงภาพยนตร์ผู้มีความสามารถ
โด่งดัง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศและได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง
โปรดชมจากเว็บไซต์วัดดาวดึงษาราม
http://www.watdao.com/
ในที่นี้ จะกล่าวเน้นเฉพาะประวัติวัดโดยสังเขป และที่เกี่ยวกับ
เจ้าจอมแว่น พระสนมเอกผู้โด่งดัง ในรัชกาลที่ ๑ ดังนี้
>> ประวัติวัดดาวดึงษารามเมื่อแรกสร้างวัด ในสมัยรัชกาลที่ ๑
เจ้าจอมหรือเจ้าจอมมารดาแว่น หรือแหว่น ซึ่งเรียกกันว่าคุณเสือ *
เป็นหม่อมมาตั้งแต่เมื่อพระพุทธยอดฟ้ายังเป็นเจ้าคุณเห็นจะได้ เมื่อเสด็จไป
ทัพ มีเรื่องเล่ากันถึงเจ้าจอมคนโปรดนี้มาก ...
เมื่อพระพุทธยอดฟ้าเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว คนในวังและ
เห็นจะเป็นคนทั่วไปด้วย เรียกเจ้าจอมมารดาแว่นว่า "คุณเสือ" เห็นจะเป็นด้วย
ท่านดุแหว ดอกกระมัง ...
... ที่น่าเห็นว่าเป็นคนดี ก็เพราะท่านจงรักต่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
เป็นที่สุด เป็นผู้ปฏิบัติในเวลาทรงพระชราอยู่จนสิ้นรัชกาล เมื่อทรงสร้างพระ
โกษทองใหญ่ไว้สำหรับพระองค์นั้น ครั้งสร้างเสร็จแล้ว ก็โปรดให้ยกเข้าไปตั้ง
ไว้ถวายทอดพระเนตรในพระที่นั่งไพศาลฯ ทอดพระเนตรแล้วก็มิได้ตรัสให้
ยกไปเก็บเข้าคลัง ให้ตั้งไว้บนพระที่นั่งหลายวัน
คุณเสือไม่สบายใจเห็นเป็นลาง ก็ทูลวิงวอนว่า เป็นอัปมงคลให้
ยกไปเสีย ตรัสตอบว่า กูทำสำหรับใส่ตัวกูเองจะเป็นอัปมงคลทำไม แต่ก็
โปรดให้ยกพระโกษไป คุณเสือเป็นคนได้รับพระราชทานอภัย ทูลอะไรทูลได้
จึงมีเรื่องเล่าต่อไป
วันหนึ่งพระพุทธยอดฟ้าทรงแสดงพระอาการว่า สบายพระราชหฤทัย
ตรัสและทรงพระสรวลอย่างสนุกสนาน คุณเสือเห็นเป็นโอกาสดี ก็เข้าไปใกล้
พระองค์ทูลว่า "ขุนหลวงเจ้าขา ดีฉันจะทูลความสักเรื่องหนึ่ง แต่ขุนหลวง
อย่ากริ้วหนา"
ตรัสตอบว่า "จะพูดอะไรก็พูดไปเถิด ไม่กริ้วดอก"
คุณเสือทูลว่า "ถ้ายังงั้น ขุนหลวงสบถให้ดีฉันเสียก่อน ดีฉันจึงจะ
ทูล"
ตรัสว่า "อีอัปรีย์ บ้านเมืองลาวของมึง เคยให้เจ้าชีวิตจิตสันดาน
สบถหรือ กูไม่สบถ พูดไปเถิด กูไม่โกรธดอก"
คุณเสือกระเถิบเข้าไปกระซิบทูลว่า "เดี๋ยวนี้ แม่รอดท้องได้ ๔
เดือน"
ทรงอึ้งไปครู่หนึ่งแล้วตรัสว่า "ท้องกับใคร"
คุณเสือทูลว่า "จะมีกะใครเสียอีกเล่า ก็พ่อโฉมเอกของขุนหลวง
น่ะซี"
พระพุทธยอดฟ้ากริ้วนิ่ง ๆ อยู่หลายวัน ไม่มีใครทราบว่าจะอย่างไร
กันแน่ พากันเกรงพระราชอาญาแทนเจ้าฟ้าสองพระองค์ไปตามกัน คุณเสือ
ร้อนใจ จึงหาโอกาสเข้าไปทูลถามว่า ทารกในพระครรภ์จะเป็นเจ้าฟ้าหรือ
ไม่ ตรัสตอบว่า เจ้าฟ้า ก็โล่งใจไปตามกัน ในที่สุดกรมพระราชวังบวรมหา
สุรสิงหนาท เข้าไปขอพระพระราชทานโทษแทนพระหลานทั้งสองพระองค์
(เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นั้น คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า
กรมหลวงอิศรสุนทร ภายหลังได้เสด็จเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้าฯ รัชกาลที่ ๒ กับเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาของเจ้าฟ้ากรมพระ
ศรีสุดารัตน์ ซึ่งในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรี
สุริเยนทราบรมราชินี)
ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกริ้วนิ่ง ๆ อยู่เป็นเวลาหลาย
วัน เจ้าจอมแว่น หรือ "คุณแว่น" พระสนมเอกคนโปรดที่ใคร ๆ ชอบเรียกกันว่า
"คุณเสือ" ร้อนใจเป็นที่สุด เพราะรักใคร่เจ้าฟ้าทั้งสององค์นี้มากเป็นพิเศษ
ถึงกับได้บนบานว่า หากเรื่องคลี่คลายไปในทางที่ดีแล้ว จะสร้างวัดถวายไว้
ในพระพุทธศาสนาหนึ่งวัด
และในที่สุด คุณเสือก็ได้สร้างวัดขึ้นกลางสวนในตำบลบางยี่ขัน
ธนบุรี วัดหนึ่ง เพื่อแก้บน
พระอุโบสถ ก่อเป็นอิฐสูงพ้นดินประมาณ ๒ ศอก เอาเสาไม้แก่น
เป็นเสาประธาน หลังคามุงกระเบื้อง ฝาผนังเอาไม้สักเป็นฝารอบ มีบาน
ประตูหน้าต่าง แต่กุฎีนั้น ทำด้วยเสาไม้แก่น มีหลังคามุงบัง สัณฐานเช่น
เรือนโบราณ
ชาวบ้านเรียกว่า "วัดขรัวอิน" ตามชื่อสมภารชื่อ "อิน"
ที่มา : หนังสือประวัติวัดดาวดึงษาราม
* หมายเหตุ :
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช บันทึกไว้ในหนังสือ "โครงกระดูก
ในตู้" ว่า เจ้าจอมแว่น หรือ คุณเสือ เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมีหน้าที่
อภิบาลพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์อย่างเข้มงวด จนได้รับฉายาว่า
"คุณเสือ" ท่านเป็นชาวเวียงจันทน์ ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลก มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๒ ขณะยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหา
กษัตริย์ศึก เมื่อครั้งทรงเป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑ และ
กวาดต้อนชาวลาวพร้อมทั้งทรัพย์สมบัติ กลับมายังกรุงธนบุรี
เมื่อเจ้าจอมแว่นมาอยู่ในทำเนียบสมเด็จเจ้าพระยาฯ แล้ว
ท่านผู้หญิง (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ก็หึงหวงมาก มีปากเสียงกับ
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้วยเรื่องคุณแว่นนี้อยู่บ่อย ๆ จนคืนวันหนึ่ง ท่านผู้หญิงถือ
ดุ้นแสมไปยืนดักคอยอยู่ในที่มืด บนนอกชานเรือน พอคุณแว่นเดินออกมาจาก
เรือนหลังใหญ่ อันเป็นที่อยุ่ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านผู้หญิงก็เอาดุ้นแสม
ตีหัว คุณแว่นก็ร้องขึ้นว่า "เจ้าคุณขา คุณหญิงตีหัวดิฉัน"
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็โกรธยิ่งนัก ฉวยได้ดาบออกจากเรือนจะมาฟัน
ท่านผู้หญิง ฝ่ายท่านผู้หญิงก็วิ่งเข้าเรือนที่ท่านอยู่ แล้วปิดประตูลั่นดาลไว้
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็เอาดาบฟันประตูโครม ๆ
เจ้าจอมแว่นรับราชการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
อย่างใกล้ชิด แต่มิได้ให้ประสูติพระราชบุตร นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ถวาย
การอภิบาลพระ เจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี อย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
มีเชื้อสายเป็นชาวเวียงจันทน์เหมือนกัน รวมทั้งยังเป็นผู้ถวายการอภิบาล
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่
เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี อีก ๓ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าอาภรณ์ สมเด็จเจ้าฟ้า
กลาง (สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์)
และสมเด็จเจ้าฟ้าปิ๋ว
เจ้าจอมแว่นเป็นผู้มีฝีมือในการปรุงอาหารและเป็นผู้คิดประดิษฐ์
ขนมไข่เหี้ย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีพระราช
ประสงค์จะเสวยไข่เหี้ย กับมังคุด แต่หาไม่ได้ เจ้าจอมแว่นจึงได้คิดประดิษฐ์
ขนมชนิดนี้ขึ้นมาถวายแทน
เจ้าจอมแว่น ถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้านภาลัย
ที่มา : วิกิพีเดีย
>> ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๒ และได้รับพระราชทานนามใหม่
"วัดดาวดึงษาสวรรค์"
ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๒ เมื่อคุณแว่นถึงแก่กรรมแล้ว ได้มีญาติ
หญิงของคุณแว่นคนหนึ่ง เป็นข้าราชการฝ่ายในชื่อ "อิน" ได้มีจิตศรัทธา
จัดการปฏิสังขรณ์วัดขรัวอินเสียใหม่ทั้งวัด
การปฏิสังขรณ์คราวนี้ได้รื้อเอาสถานที่ของเก่าออกทิ้งทั้งหมดแล้ว
สร้างใหม่ ได้สร้างอุโบสถขนาดเล็กก่ออิฐปูนขึ้นใหม่ เสนาสนะก่อด้วยอิฐปูน
แต่เครื่องบนใช้ไม้ไผ่สานเป็นแกน
เสร็จแล้วได้กราบถวายบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จึงทรงดำริว่า วัดขรัวอินนี้แปลก สมภาร
เจ้าวัดชื่อ "อิน" ผู้ศรัทธาปฏิสังขรณ์ก็ชื่อ "อิน" ไม่แต่เท่านั้น ชาวบ้านก็
อุตส่าห์ให้เรียกว่า "วัดขรัวอิน" เสียอีก จึงได้พระราชทานนามให้วัดนี้ใหม่ว่า
"วัดดาวดึงษาสวรรค์" อันหมายถึง สวรรค์ชั้นที่พระอินทร์สถิตย์อยู่
>> ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ และได้รับพระราชทานนามใหม่
"วัดดาวดึงษาราม"
พระยามหาเทพ (ปาน) ซึ่งเป็นต้นตระกูล "ปาณิกบุตร" ตั้ง
บ้านเรือนอยู่ใกล้วัดดาวดึงษาสวรรค์ เป็นผู้มีศรัทธา ได้รื้อกุฎีเหล่านั้นเสีย
ทั้งหมด แล้วสร้างใหม่ แล้วรื้อพระอุโบสถเก่าที่เจ้าอินสร้างไว้นั้นออก
แล้วสร้างใหม่เช่นกัน ด้านในพระอุโบสถถือปูน และเขียนเป็นรูปภาพต่าง ๆ
มีพระรูปพระเจ้า ๑๐ ชาติ เป็นต้น
แล้วจึงให้ขุดคลองระหว่างอุโบสถกับกุฎีต่อกัน ปากคลองทิศ
ตะวันออกเฉียงใต้จดแม่น้ำเจ้าพระยา ตะวันตกเฉียงเหนือจดคลองบางยี่ขัน
แล้วให้ขุดสระอีก ๒ สระข้างกุฎีด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสระกลม กว้าง
๖ ศอก แล้วขุดสระด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ๔ เหลี่ยม อีก ๑ สระ **
ครั้นพระยามหาเทพ (ปาน) สร้างพระอารามสำเร็จลงในรัชกาลที่ ๓
จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง รัชกาลที่ ๓ จึงได้พระราชทานนาม
ใหม่ ว่า "วัดดาวดึงษาราม"
** หมายเหตุ :
คลองที่ขุดจากวัดไปถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อ "คลองวัดดาวดึงษ์"
(คลองวัดดาวดึงษ์ แต่เดิมกว้างใหญ่ ร่มรื่น เรือขนาดใหญ่แล่นสวนกันได้
สะดวก - ผู้เขียน)
>> ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๙ โดยคุญหญิงกลาโหมราชเสนา
บริจาคปัจจัยถวายวัด
หลังจากปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แล้ว ในรัชกาลต่อ ๆ มา
ก็ได้ปฏิสังขรณ์อีกเรื่อยมา แต่ไม่ได้ซ่อมแซมใหญ่โตแต่ประการใด จนถึง
รัชกาลที่ ๙ พระอุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอย่างมาก ดังปรากฏ
ในภาพถ่าย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ (เกือบ ๕๐ ปีมาแล้ว) ที่ผู้เขียนได้เคย
ถ่ายภาพไว้ รวม ๒ ภาพ ด้วยกัน ด้านล่างนี้